อัพเดทตัวเลขและพฤติกรรมผู้ใช้งานสื่อ digital ในเมืองไทย Q3 2018
บทความนี้คัดเลือกข้อมูลตัวเลขและพฤติกรรมผู้ใช้งานสื่อ digital ของ Q3 ปี 2018 ที่สำคัญและน่าสนใจของคนไทยมาดังนี้
Thailand Internet User Profile 2018 จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)
- คนไทยใช้ Internet เฉลี่ยเกือบ 10 ชั่งโมงต่อวันในวันทำงาน/เรียน และ 11 ชั่วโมงในวันหยุด พูดง่ายๆคือประมาณ 1/3 ของชีวิตประจำวันนั้นอยู่กับ Internet
- Gen Y ครองแชมป์ generation ที่ใช้เวลากับ Internet มากที่สุด ในขณะที่วัยปู่ย่าตายายก็ออนไลน์กันไม่น้อยที่ 8 ชั่วโมงกว่าๆต่อวัน อย่าลืมว่าวัยนี้คือวัยที่มีกำลังซื้อมากที่สุด บ้านราคา 20-30 ล้านขึ้นไปส่วนใหญ่คนวัยนี้เป็นเจ้าของเงินทั้งสิ้น
- ภาพรวมคนไทยใช้เวลาบน Internet มากขึ้นประมาณ 3 ชั่วโมงกว่าๆเทียบกับปีที่แล้ว
- YouTube, Line, Facebook ยังคงเป็น Top 3 Social/Chat platform ของคนไทย
- ในขณะที่ pantip.com ยังคงอยู่ยังคงกระพันเป็น platform ของไทยที่เดียวที่ยังยืนหยัดสู้ platform ระดับโลกได้
- รองมาคือ IG และ Twitter ส่วน Messenger ก็ห้อยตาม Facebook มาด้วย
- ถ้าดูตามตัวเลขนี้ จริงๆการใช้งาน LINE, YouTube, Facebook ยังไม่ห่างกันมากเท่าไหร่ใน Gen Y และ X
- Baby Boomer และ Gen X ยังใช้ Pantip เป็นอันดับ 5 ในขณะที่ Gen Y, Z ใช้ Instagram เป็น social media รองจาก Facebook
- คนไทยใช้เวลาไปกับ social media มากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งต่อวัน รองลงมาคือดูหนัง/ทีวี/ฟังเพลง (streaming ต่างๆ)
- ที่น่าชื่นใจคือ คนไทยใช้เวลาประมาณ ชั่วโมงครึ่งต่อวันไปกับการอ่านหนังสือหรือบทความออนไลน์
- เมื่อมาลงรายละเอียด นอกจากใช้ social media, email, search, และดูหนังฟังเพลงแล้ว คนไทยนิยมใช้ Internet ในการช็อปปิ้งออนไลน์และทำธุรกรรมทางการเงิน
- นอกจากนั้นยังมีหลายๆกิจกรรมที่คนไทยหันมาทำทางออนไลน์มากขึ้น เช่น ซื้อตั๋วชมภาพยนตร์ บริการเรียกรถและสั่งอาหาร
- ต่อเนื่องจากข้อมูลเมื่อสักครู่ เมื่อแยกดูกิจกรรมที่เมื่อก่อนทำกันทางออฟไลน์เท่านั้น ตอนนี้สัดส่วนการทำกิจกรรมดังกล่าวบนออนไลน์มากกว่าเกินครึ่งเกือบทั้งหมด เช่น การชำระสินค้าและบริการ คิดสัดส่วนทำบนออนไลน์ 82.8% บริการรับส่งเอกสารและเรียกรถมากกว่า 70% ในขณะที่ดูทีวีหรือรายการสดต่างๆ คนไทยนิยมดูบนออนไลน์มากกว่าออฟไลน์ไไปแล้ว
สามารถ download deck ทั้งหมดได้จากที่นี่: https://www.etda.or.th/…/files/Present_Day_02_eCom_Value.pdf
ข้อมูลจาก WeAreSocial x Hootsuit เจ้าเก่า: Facebook Engagement Insights & Benchmarks และ Global Snapshot Q3 2018
- Facebook ยังคงครองแชมป์ social media อันดับหนึ่งของโลกและประเทศไทย แม้ล่าสุดจะมีข่าวร้ายหุ้น Facebook ช่วงหนึงตกไป 24% สืบเนื่องจากการเติบโตของรายได้ใน Q2 ไม่เป็นไปตามเป้า
- ถึงแม้ Facebook ยังคงเป็น social media เบอร์หนึ่ง แต่จากหลายๆข้อมูลและผลสำรวจ การเติบโต Facebook เริ่มจะตีบตันและกลุ่มวัยรุ่นเริ่มไม่ค่อยสนใจ Facebook กันแล้ว
- Instagram กำลังเป็น social platform ที่ทั่วโลกเริ่มหันมาใช้มากขึ้นเช่นเดียวกับ Twitter
- Potential Reach สำหรับการซื้อโฆษณาบน Facebook ในประเทศไทยยังคงอยู่ที่ 50 ล้านคนไม่ต่างจากข้อมูลเมื่อต้นปี 2018
- กรุงเทพยังคงเป็นเมืองที่ประชากร Facebook มากที่สุดในโลก
- เปรียบเทียบ Facebook กับ Instagram และ Twitter – Instagram มีจำนวนผู้ใช้หรือ potential reach คนไทยอยู่ที่ 14 ล้าน และ Twitter ประมาณ 12 ล้าน
- อีกข้อมูลที่น่าสนใจของ Instagram คือ ตัวเลขอายุเฉลี่ยที่ใช้ IG เยอะสุดคือ 18-34 ปีและเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
- Facebook Engagement Rate (รวมทั้งแบบ paid และ organic จำนวนคนที่ engage vs จำนวน reach) รวมทุก post type ตกลงเหลือ 3.91% เทียบกับข้อมูลเมื่อต้นปีที่ 4.20% และ เมื่อ Q2 ที่ 4.08% เริ่มน่าเป็นห่วงสำหรับ Facebook
- อีกข้อมูลที่ถือว่าเป็น hi-light ของ Q3 ที่ WeAreSocial ปล่อยออกมาคือ ข้อมูลความถี่ของกิจกรรมที่ผู้ใช้งานมีกับ Facebook
- ตัวเลขเฉลี่ยทั้งโลก:
- หนึ่งคนกด like เพจเพียงแค่ 1 เพจ
- ใน 30 วันที่ผ่านมา กด like post คนละประมาณ 10 ครั้ง
- ใน 30 วันที่ผ่านมา comment คนละประมาณ 4 ครั้ง
- ใน 30 วันที่ผ่านมา share คนละประมาณ 1 ครั้ง
- และใน 30 วันที่ผ่านมากดโฆษณาคนละประมาณ 8 ครั้ง
- ผู้หญิงจะกด like post comment share และกดโฆษณามากกว่าผู้ชาย
- เมื่อลงมาดูรายละเอียดการกดโฆษณา Facebook ในทุกช่วงอายุ: อายุ 35-54 เป็นวัยที่กดโฆษณามากที่สุด: ผู้หญิง 14 ครั้งต่อเดือน ผู้ชาย 8 ครั้งต่อเดือน รองลงมาคืออายุ 55-64 ปีและ 25-34 ปี
- สำหรับข้อมูลของประเทศไทย โดยเฉลี่ยคนไทยกด like เพจแค่ 2 เพจต่อหนึ่งบัญชี
- กด like post คนละ 8 ครั้งต่อเดือน
- comment คนละ 6 ครั้งต่อเดือน
- Share คนละ 2 ครั้งต่อเดือน
- และกดโฆษณาคนละ 11 ครั้งต่อเดือน
- ถ้าจากข้อมูลนี้ เท่ากับว่าโดยเฉลี่ย คนไทยมีความถี่กิจกรรมกับ Facebook มากกว่าค่าเฉลี่ยของคนทั่วโลกในทุกกิจกรรมยกเว้นกดการ like post ที่น้อยกว่า
จากข้อมูลสุดท้ายเรื่องกิจกรรมของผู้ใช้งานที่มีกับ Facebook น่าแปลกใจที่ค่าเฉลี่ยออกมากลับกลายเป็นว่า คนเรา engage กับโฆษณามากกว่ากิจกรรมอื่นๆ น่าคิดว่าถ้าพฤติกรรมของผู้ใช้งานยังเป็นแบบนี้ต่อไปคงต้องคอยติดตามและประเมิน Facebook กันอย่างใกล้ชิดในอนาคต
ข้อมูล E-Commerce ปี 2558-2560 จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)
- ตัวเลข E-Commerce ในไทยเติบโตขึ้นตลอดทุกปี โดย B2C สูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ในปี 2561 คาดการณ์ว่ายอด B2C จะสูงถึง 1.8 พันล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีมูลค่า E-Commerce สูงสุดคือ ค้าปลีกและค้าส่ง
- เมื่อแยกตามประเภทสินค้าและบริการในค้าปลีกและค้าส่ง ธุรกิจการขายผ่าน e-commerce เยอะที่สุดยังเป็นของห้างสรรพสินค้า* รองลงมาคืออาหาร และเครื่องสำอาง/อุปกรณ์เสริมความงาม
- *ทั้งนี้เนื่องจากในข้อมูลที่เปิดเผยออกมาไม่ได้ระบุว่าห้างสรรพสินค้าเป็นเฉพาะห้างที่มีออฟไลน์ด้วยหรือไม่ เช่น Central จึงสันนิษฐานได้ว่าข้อมูลนี้รวมพวกร้านค้าปลีกออนไลน์อย่างเดียวด้วย เช่น Lazada เป็นต้น
- เทียบมูลค่าตลาด e-commerce ใน South East Asia ประเทศไทยมีมูลค่าเป็นอันดับหนึ่ง ถึงแม้จำนวนประชากรเราจะน้อยกว่าเวียดนานและอินโดนีเซียแต่ตลาดบ้านเราเรียกว่าเจริญกว่าอีกสองประเทศดังกล่าว อย่างไรก็ดี หากประเทศที่มีจำนวนประชากร 2 ร้อยล้านคนอย่างอินโดนีเซียสุกงอมเมื่อไหร่ น่าจะทิ้งเราไปห่างไกลพอสมควร
ขอบคุณสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และ WeAreSocial x Hootsuit สำหรับข้อมูล
3 วิธีโปรโมทร้านค้าออนไลน์และ Food Delivery ร้านอาหาร | StoreHub Academy
[…] เพราะจริง ๆ แล้วร้านค้าและร้านอาหารของคุณสามารถเพิ่มยอดขายผ่านการเป็นที่รู้จักบนโลกออนไลน์ได้ แล้วคนไทยเราก็ใช้เวลาบนอินเตอร์เน็ตมากถึงวันละ 9 ชั่วโมงและใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับ Social Media […]