ธุรกิจสำเร็จได้ด้วย สูตร (R)B = MAP(R)
ข้อมูลจากงาน “Everyday is a Cheat Day” ซึ่งจัดโดย Wisesight ในหัวข้อ Breakthrough Customer Journey: เจาะลึกขั้นตอนสู่ความสำเร็จของการสร้าง Awareness, Consideration, Purchase และ Advocacy
สูตร (R)B = MAP (R)
(R) คือ Repeat
B คือ Behaviors หรือพฤติกรรม (การซื้อ)
=
M คือ Motivation หรือการหา Insight กลุ่มเป้าหมายให้เจอ
A คือ Ability หรือการวาง Journey กลุ่มเป้าหมายให้ชัด
P คือทำการ Prompt (Call/Chat/Ads/Noti) อย่างถูกจังหวะ
(R) ตัวท้ายคือ Rewards (ขยายความต่อด้านล่าง)
สูตรนี้คือสูตรการทำสินค้าและบริการให้เกิดความพึงพอใจจนซื้อซ้ำและบอกต่อ
Rewards มีอะไรบ้าง
แบ่งออกเป็น 3 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่
- Functional Rewards = คุ้มค่ามาก ๆ คิดถูกแล้วที่ซื้อ
- Social Rewards = ใช้แล้วอวดได้ เพื่อนหรือสังคมยอมรับ
- Emotional Rewards = ใช้แล้วรู้สึกดีกับแบรนด์
โดยที่แบรนด์อาจจะกลับมามองตัวสินค้าและบริการของแบรนด์แล้วว่าอะไรที่ทำให้เกิด Rewards แบบด้านบนได้ เคสตัวอย่างแบรนด์ลิปบาล์มที่เป็นรูปแบบปากกา (GALA CAMILLE BALM) ที่สามารถสร้าง rewards ที่กล่าวมาได้ในเรื่องของ functional และ Social ได้ เพราะเมื่อเป็นของใหม่ของแปลกๆ คนชอบแชร์ แล้วยิ่งสินค้าได้เรื่อง Emotioanl ยิ่งดีขึ้นไปอีก
Viral Content Making the Brand Shine
เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ อยู่ที่ว่าสิ่งนั้นจะถูกที่ถูกเวลาหรือไม่ แต่เมื่อไหร่เราถึงจะเรียก content นั้นว่า Viral? หรือจริงๆ มันแค่มี high engagement?
ทาง Wisesight จึงตอบคำถามนี้ด้วยการยกตัวอย่าง message ที่เกิดเทรนด์ 3 เรื่องต่อไปนี้
(A) Brand music marketing
(B) Fandom
(C) ดุดันไม่เกรงใจใคร
จะเห็นได้ว่า คอนเทนต์ (C) สามารถทำให้เกิด UGC (User-generated content) ได้ยาวนานและต่อเนื่องกว่า (A) และ (B) จึงเป็นที่มาว่า การจะระบุว่า content ไหนเป็น viral ให้ใช้ checklist ดังต่อไปนี้
Viral Content Checklist checklist
- Organic(UGC)
- Lead to cross-channel sharing
- Widely known
- Human touched
- Lead to repetition
- Create positive perception (ซึ่งข้อนี้สำคัญมากที่สุด แบรนด์ต้องมั่นใจว่าสินค้าและบริการของเรานั้นควรมี net sentiment positive 80% ไม่อย่างนั้นมันจะกลายเป็น brand crisis แทนหากมีแต่การพูดถึงแบรนด์เราในแง่ลบ)
Top Content Tactics for Consideration Stage
อ้างอิง Top industries ที่เกิด purchase intention mention ในช่วงครึ่งปีแรก 2024 แบ่งออกเป็น
Discussion Experience
เราจะเห็นในรูปแบบ Text platform (FB) มากที่สุด โดยเป็นการเชิญชวนให้เข้ามาพูดคุยในหัวข้อหรือประเด็นต่าง ๆ เช่น ซอส KFC ที่ทุกคนพร้อมใจกันเข้ามาบอกว่าซื้อติดบ้านแน่นอน ซึ่งแม้จะไม่สามารถวัดผลได้ทันทีว่าเกิดการซื้อตามที่ comment จริงหรือไม่ แต่ก็สามารถอ้างอิงได้ว่าสินค้าตัวนี้มีคนสนใจมากพอที่จะเข้ามามี engagement
Unexpected Experience
สินค้าพิเศษที่คาดไม่ถึงว่าจะมีจริง ๆ หรือการ Collab ระหว่างแบรนด์ เช่น เต่าบินและ Lipit
Limited Experience
สินค้าหรือบริการที่มีแค่ช่วง seasonal หรือ มีแค่ลายนี้ รสนี้เท่านั้น แม้เราอาจจะเห็นกันได้บ่อย ๆ แต่ก็มักจะขายได้เสมอ
Challenge Experience
สามารถสร้างกระแสได้ดีในหลายๆ แบรนด์เลยทีเดียว คือการสร้างโจทย์ท้าทายให้มาลอง ใครทำได้รับไปเลย